ประวัติจังหวัดชัยภูมิ

ประวัติจังหวัดชัยภูมิ

สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี “เมืองชัยภูมิ” ปรากฏในทำเนียบแผ่นดินสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช เป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมา แต่ต่อมาผู้คนได้อพยพออกไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่อื่น และได้ถูกปล่อยไว้เป็นเมืองร้าง“เมืองชัยภูมิ” ปรากฏชื่ออีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๖๐ “นายแล” ข้าราชการสำนักเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทร์ ได้อพยพครอบครัวและบริวารเดินทางข้ามลำน้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองน้ำขุ่น(หนองอีจาน) อยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอ สูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน ปี พ.ศ. ๒๓๖๒ เมื่อมีคนอพยพเข้ามาอยู่มาก นายแลก็ได้ย้ายชุมชนมาตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ ๖ กิโลเมตร นายแล ได้เก็บส่วย ผ้าขาว ส่งไปบรรณาการเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ จนได้รับบำเหน็จความชอบแต่งตั้งเป็น “ขุนภักดีชุมพล” ในปี พ.ศ. ๒๓๖๕ นายแลได้ย้ายชุมชนอีกเนื่องจากที่เดิมกันดารน้ำ มาตั้งใหม่ที่บริเวณบ้านหลวง ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างหนองปลาเฒ่ากับหนองหลอด เขตอำเภอเมืองชัยภูมิในปัจจุบัน และได้มาขึ้นตรงต่อ เมืองนครราชสีมา และส่งส่วยทองคำถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ยอมขึ้นต่อ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์อีกต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกบ้านหลวง เป็นเมืองชัยภูมิ และแต่งตั้ง ขุนภักดีชุมพล (แล) เป็น “พระยาภักดีชุมพล” เจ้าเมืองคนแรกของเมืองชัยภูมิ

เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ได้ก่อการกบฏยกทัพเข้ามาหมายจะตีกรุงเทพฯ โดยหลอก หัวเมืองต่างๆ ที่เดินทัพมาว่าจะมาช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ จนกระทั้งเจ้าอนุวงศ์สามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๙ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเมื่อความแตก เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ได้กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมาเพื่อนำไปยังเมืองเวียงจันทร์ เมื่อไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์หญิงชายชาวเมืองที่ถูกจับโดยการนำของคุณหญิงโม ภรรยาเจ้าเมืองนครราชสีมาได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้ พระยาภักดีชุมพลเจ้าเมืองชัยภูมิ พร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ยกทัพออกไปสมทบกับคุณหญิงโม ตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์จนแตกพ่ายไป

กองทัพลาวส่วนหนึ่งล่าถอยจากเมืองนครราชสีมาเข้ายึดเมืองชัยภูมิไว้ และเกลี้ยกล่อมให้ พระยาภักดีชุมพล(แล)เข้าร่วมเป็นกบฏด้วย แต่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอม เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เกิดความแค้นจึงจับตัวพระยาภักดีชุมพลมาประหารชีวิตที่บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่ริมหนองปลาเฒ่า ซึ่งต่อมาชาวชัยภูมิได้ระลึกถึงคุณความดีที่ท่านมีความชื่อสัตย์และเสียสละต่อแผ่นดินจึงได้พร้อมใจกัน สร้างศาลขึ้น ณ บริเวณนั้น และชาวชัยภูมิได้สร้างศาลเพิ่มเป็นศาลาทรงไทย “ศาลาพระยาภักดีชุมพล(แล)” มีรูปหล่อของท่านอยู่ภายใน เป็นที่เคารพกราบไหว้ และถือเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ แห่งหนึ่งของจังหวัด ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ ประมาณ ๓ กิโลเมตร

บุคคลสำคัญ

ภิกษุสงฆ์
พระเทพมงคลเมธี (ประจักษ์ โชติโก)
เจ้าอาวาสวัดชัยสามหมอ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ
พระเทพภาวนาวิกรม วิ. (บุญมา ปุญฺญาภิรโต ปธ.6)
เจ้าอาวาสวัดชัยภูมิพิทักษ์ เจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ
พระสุวีรญาณ เจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ (ธ)
เจ้าอาวาสวัดศรีแก่งคร้อ
พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต
พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต
หลวงพ่อจื่อ พันธมุตโต วัดเขาตาเงาะอุดมพร
หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม
หลวงปู่วิไลย เขมิโย วัดถ้ำพญาช้างเผือก

ผู้ว่าราชการจังหวัด
พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า
ชวน ศิรินันท์พร (อดีตอธิบดีกรมการปกครอง)
วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์
ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีชื่อเสียง[แก้]
ผู้อำนวยการ วิจารณ์ รักอาชา อดีตผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ
ผู้อำนวยการ สุพล ฤๅชา อดีตผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้อำนวยการ จรรยา เกษโพนทอง อดีตผู้บริหารสถานศึกษ
ผู้อำนวยการ เถลิงศักดิ์ ศรีดี อดีตผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้อำนวยการ พจน์ ธงภักดิ์ อดีตผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้อำนวยการ วสันต์ อาจกมล อดีตผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้อำนวยการ ธนัญญพัฒน์(อุดร) ฤๅชา อดีตผู้บริหารสถานศึกษา

นักแสดง
อรวรรษา ฐานวิเศษ
ชาติ ชัยภูมิ
อติรุจ สิงหอำพล
โกวิท วัฒนกุล
รมิดา ประภาสโนบล
ขวัญนภา เรืองศรี (ลาล่า โปงลางสะออน)
ไอเดียร์ ธันลดา
นพัตฏ์ธร มัททวีวงศ์ (โจ๊กเกอร์)

นักมวย
ปิ๊กมี่ เมืองชัยภูมิ
ไผ่ผารบ พ.นอบน้อม
พรชัย ศิษย์พระพรหม
พิชิต ช.ศิริวัฒน์
พิชิต ศิษย์บางพระจันทร์
แหวนเพชร ชูวัฒนะ
ทัพทอง ต.บัวมาศ
ยอดแสนเก่ง ซีพียิมส์
อภิสิทธิ์ เค.ที.ยิม
หยกเพชร ทก.ยิมส์

นักร้อง
การะเกด (นักร้อง)
โชคชัย โชคอนันต์
นางสาวนิตยา สุภาพ
ประทีป ขจัดพาล
รุจิรา พญาแล
สายัญห์ นิรันดร
พิมพา พรศิริ
เสี่ยวอี้ ประสานชาติ

นักจัดรายการวิทยุ
ฟองสนาน จามรจันทร์
ยุทธนา บุญอ้อม

นักเขียน
กาญจนา นาคนันทน์

นักกีฬา
ชูเกียรติธน ยศภัทร์หนูสลุง
ประกิต ด่านขุนทด
ไพฑูรย์ นนทะดี
หัตถยา บำรุงสุข
เชิดศักดิ์ ชัยบุตร
ถวิล บุตรสมบัติ
ศุภชัย ศรีภูมิ
แหวนเพชร ชูวัฒนะ
อภิสิทธิ์ เค.ที.ยิม
ยอดแสนเก่ง ซีพียิมส์
ฤทธิเดช ว.วรรณทวี
พิชิต ช.ศิริวัฒน์
พิชิต ศิษย์บางพระจันทร์
ไผ่ผารบ ก่อเกียรติยิม
พรชัย ศิษย์พระพรหม

นักการเมือง
คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรีคนที่ 23)
สุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)
พรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา ส.ว.ชัยภูมิ อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2
เจริญ จรรย์โกมล ส.ส.ชัยภูมิ เขต 5 พรรคเพื่อไทย/ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1
วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย อดีต ส.ส. ชัยภูมิ 7 สมัย
นพ.ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ส.ส.ชัยภูมิ เขต 7 พรรคเพื่อไทย/ อดีต รมว.นร. อดีต รมช.สธ. (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)
สุนทรีย์ ชัยวิรัตนะ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย
นพ.โอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย ส.ส.ชัยภูมิ เขต 1 พรรคภูมิใจไทย
มานะ โลหะวณิชย์ ส.ส.ชัยภูมิ เขต 2 พรรคเพื่อไทย
ปาริชาติ ชาลีเครือ ส.ส.ชัยภูมิ เขต 3 พรรคเพื่อไทย
อนันต์ ลิมปคุปตถาวร ส.ส.ชัยภูมิ เขต 4 พรรคเพื่อไทย
พรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล ส.ส.ชัยภูมิ เขต 6 พรรคเพื่อไทย
มนตรี ชาลีเครือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ

พระยาฤทธิฤาชัย
      พระยาฤทธิฤาชัย  ในปี พ.ศ.๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏยกกองทัพมากวาดต้อนผู้คนในหัวเมืองภาคอีสาน และเข้ายึดเมืองนครราชสีมา 
                ในครั้งนั้น ขุนพลนายด่านบ้านช่วนทราบข่าวกบฏ จึงได้ยกกำลังไปสมทบช่วยปราบกบฏได้คุมครัวไทยส่วนหนึ่งที่อยู่ที่บ้านมะเริ่ง ขุนพลนายด่าน ฯ ได้แต่งหนังสือหลอก ส่งเข้าไปในค่ายเจ้าอนุวงศ์ มีใจความว่า "ขณะที่ลาวกำลังกวาดต้อนผู้คนอยู่ที่เมืองนครราชสีมานี้ กองทัพเมืองเชียงใหม่ ได้ยกไปกวาดต้อนครัวเมืองเวียงจันทน์แล้ว" 
                หลังจากนั้น ขุนพลนายด่าน ฯ ได้ให้คนถือหนังสือไปถึงพระยาปลัด และกรมการเมืองนครราชสีมา เพื่อนัดวันเข้าตีกองทัพเวียงจันทน์ และตัวขุนพลนายด่าน ฯ จะช่วยยกกำลังเข้าตีกระหนาบอีกด้านหนึ่ง แต่ยังไม่ทันเข้าโจมตีก็ได้ทราบข่าวว่า เจ้าอนุวงศ์ถอยทัพออกจากเมืองนครราชสีมา ขุนพลนายด่าน ฯ จึงได้นำกำลังเข้าสมทบ กับกองทัพหลวงจากกรุงเทพ ฯ สู้รบกับฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ต่อไป 
                เมื่อเสร็จการปราบกบฏแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานบำเหน็จความชอบขุนพลนายด่าน ฯ เป็นพระยาฤทธิฤาชัย และให้ยกฐานะด่านช่วน ขึ้นเป็นเมืองบำเหน็จณรงค์ ให้พระยาฤทธิฤาชัยเป็นเจ้าเมืองบำเหน็จณรงค์ ถือศักดินา ๑,๐๐๐ ไร่ พระราชทานเครื่องยศ ถาดหมาก คณโฑเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบก้านแย่งตัวหนึ่ง แพรศรีติจ์ครีบผืนหนึ่ง แพรขาวห่มผืนหนึ่ง ผ้าส่านวิลาตผืนหนึ่ง ผ้าม่วงจีนผืนหนึ่ง


สัญลักษณ์ประจำจังหวัด



รูปธงสามชาย หมายถึงธงแห่งชัยชนะสงคราม เดิมผู้ครองนครได้เลือกภูมิประเทศเพื่อตั้งเป็นเมือง พบว่าตรงจังหวัดนี้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ทำเลเหมาะแก่การสู้รบป้องกันตัว จึงตั้งเมืองขึ้นและให้สัญลักษณ์เป็นรูปธงสามแฉก


ต้นไม้ประจำจังหวัด



ต้นขี้เหล้ก (Senna siamea)


ดอกไม้ประจำจังหวัด



ดอกกระเจียว (Curcuma sessilis)


คำขวัญประจำจังหวัดชัยภูมิ


 ทิวทัศน์สวย รวยป่าใหญ่ มีช้างหลาย ดอกไม้งาม ลือนามวีรบุรุษ สุดยอดผ้าไหม พระใหญ่ทวารวดี

คำขวัญเก่าของจังหวัดชัยภูมิ


เมืองโบราณ บ้านนักสู้ ภูเสียดฟ้า ป่าช้างหลาย ทุ่งไพรรก น้ำตกใส ผ้าไหมดี สตรีงาม หมู่บ้านแผ่นดินธรม หมู่บ้านแผ่นดินทอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จังหวัดชัยภูมิ

ชัยภูมิ  เดิมสะกดว่า  ไชยภูมิ์  เป็น จังหวัด ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่างของ ประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังไม่มีการจัดตั้งจังหว...