การประกอบอาชีพ

อาชีพเกษตรกรรมของจังหวัดชัยภูมิ

อาชีพหลักของชาวชัยภูมิ เป็นการประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม ประมาณ58.69 % อาชีพการเกษตรที่สำคัญได้แก่ การเพาะปลูก ทำนา ทำไร่ และ ทำสวนไม้ผลไม้ยืนต้น มีการปลูกพืชผักสวนครัวและไม้ประดับอยู่บ้างและมีการประกอบอาชีพที่นอกเหนือจากภาคเกษตรกรรม ประมาณ 41.31 เปอร์เซ็นต์ ดังนี้ 
(1) ลูกจ้างเอกชน               15.02 เปอร์เซ็นต์
(2) ประกอบธุรกิจส่วนตัว      10.17 เปอร์เซ็นต์
(3) ลูกจ้างรัฐบาล                7.08 เปอร์เซ็นต์              
(4) ผู้ช่วยธุรกิจในครัวเรือน    5.24 เปอร์เซ็นต์
(5) อาชีพทางอุตสาหกรรม    2.82 เปอร์เซ็นต์   
(6) นายจ้าง                      0.98 เปอร์เซ็นต์


การเพาะปลูก  ทำกันตามที่ราบลุ่มแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำชี และตามที่ราบหุบเขาในตอนเหนือ และที่ราบทิศตะวันตกของจังหวัด   พืชที่ปลูก ได้แก่ ข้าว ในอดีตอาศัยแรงงานสัตว์ได้แก่ ควาย ช่วยในการเตรียมดิน มีการทำนาดำ นาหว่าน เป็นส่วนใหญ่ โดยตอนบนของพื้นที่จังหวัดจะปลูกข้าวเหนียวเป็นส่วนมาก ส่วนพื้นที่ทางตอนล่างของจังหวัดตามลุ่มแม่น้ำชี จะนิยมปลูกข้าวเจ้าเป็นส่วนมาก  ส่วนพืชไร่ที่นิยมปลูกรองจากข้าว ได้แก่ ปอ มันสำปะหลัง ข้าวโพด พริก ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง  เป็นพืช
ไร่ที่นิยมปลูกมาแต่เดิม ต่อมาได้มีการปลูกอ้อยมากขึ้น   ส่วนการปลูกพืชสวน  นั้น มีการปลูก พืชผัก และไม้ผล สำหรับไม้ดอกไม้ประดับมีบ้างแต่ไม่มาก ซึ่งจังหวัดได้ให้การส่งเสริมการปลูกไม้ดอกเมืองหนาวในพื้นที่อำเภอภักดีชุมพล หนองบัวแดง และอำเภอคอนสาร สำหรับไม้ผลมักจะปลูกผลไม้ชนิดที่เจริญเติบโตได้ตามสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ได้แก่ หมาก ที่อำเภอคอนสาร มะขามหวาน ที่อำเภอภักดีชุมพล อำเภอหนองบัวแดง และอำเภอคอนสาร  มะม่วงแก้ว ปลูกในอำเภอเมือง ฯ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอจตุรัส อำเภอเทพสถิต และกิ่งอำเภอซับใหญ่  และส้มโอ ปลูกในอำเภอเกษตรสมบูรณ์ และอำเภอบ้านแท่น นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพ การทำไม้ดัด  ซึ่งต้นไม้ที่นิยมนำมาทำเป็นไม้ดัด เป็นไม้ยืนต้นพื้นเมืองขนาดกลาง ที่พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่ว ๆ ไป เช่น ตะโก ข่อย และโมก เป็นต้น  ส่วนอาชีพที่นอกเหนือจากงานเกษตรกรรม

หัตถกรรม  ซึ่งเป็นงานอาชีพที่แสดงถึงวิถีชีวิตในอดีตของบรรพบุรุษ และสภาพแวดล้อมของคนในท้องถิ่น   จังหวัดชัยภูมิมีหัตถกรรมหลายประเภท หากแต่ที่สืบทอดมาถึงปัจจุบันคือ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหม   และ การทอผ้ามัดหมี่  ซึ่งเป็นศิลปะการทำผ้าพื้นเมืองชนิดหนึ่ง มีทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้าย  โดยพื้นที่และความสำคัญของอาชีพที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรจังหวัดชัยภูมิในลำดับต้นๆ ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน มันสำปะหลังโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปอแก้ว พริก การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

แสดงพื้นที่การปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดชัยภูมิ ปี พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2546
ที่
ชนิดพืช
ปี 2544
ปี 2545
ปี 2546
เพิ่มขึ้น     
(ลดลง)
1
ข้าว
1,522,782
1,521,571
1,077,486
(-445,296)
2
อ้อยโรงงาน
356,038
417,201
781,369
425,331
3
มันสำปะหลังโรงงาน
248,109
276,341
248,109
296,762
4
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
145,439
130,335
68,013
(-77,426)
5
พริกขี้หนูใหญ่
64,917
76,522
60,890
(-4,027)
6
ปอแก้ว
25,266
37,897
23,375
(-1,891)
7
พืชผัก
-
22,979
         ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยภูมิ
ในการพัฒนาด้านการเกษตร  จังหวัดชัยภูมิได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาการเกษตรไว้ว่า  “ผู้ผลิตพึงพอใจ ผู้บริโภคปลอดภัย การเกษตรชัยภูมิสร้างและพัฒนาโดยมีภารกิจที่ต้องปฏิบัติ คือ พัฒนาและส่งเสริมสังคมเกษตรกรรมให้เป็นไปตามแนวทางทฤษฎีใหม่ และการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเสริมสร้างขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจการเกษตรให้เข้มแข็ง ผลิตผลผลิตที่มีคุณภาพดีด้วยแนวทางที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เป้าหมายที่ต้องเป็นไปตามภารกิจได้แก่ 
1) มีแผนการผลิตทางการเกษตรที่เป็นระบบชัดเจน สามารถเอื้อประโยชน์ให้เกษตรกรในการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ที่ดีขึ้น 
2) เกษตรกรมีปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ มีแหล่งเงินทุนเพื่อการผลิตดอกเบี้ยต่ำและมีแหล่งน้ำที่เพียงพอในการทำเกษตรกรรม  
3) เกษตรกรมีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพมากขึ้น มีการรวมกลุ่มทำงานที่เข้มแข็งและเป็นที่ยอมรับของชุมชน


       ลำดับความสำคัญของปัญหาของเกษตรกรโดยทั่วไป(รวมทั้งเกษตรกรจังหวัดชัยภูมิ)
            1. ผลผลิตต่อไร่ต่ำ (เกิดจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์และการจัดการที่ดี)
            2. ผลผลิตคุณภาพต่ำหรือผลผลิตที่มีคุณภาพดีมีในปริมาณน้อย (เกิดจากขาดความรู้และเทคโนโลยีในการผลิต)
            3. ตลาดและการจัดการด้านการตลาด
            4. แหล่งน้ำมีไม่เพียงพอในช่วงฤดูแล้ง
            5. ฝนทิ้งช่วง มิถุนายน – กรกฎาคม
            6. ขาดแคลนพันธุ์พืช / เมล็ดพันธุ์ที่ดี  มีไม่เพียงพอ หายาก ราคาแพง
            7. ความต้องการอาชีพเสริม (เลี้ยงโคเนื้อ เลี้ยงปลากินพืช ฯลฯ)
            8. การระบาดของโรคสัตว์เลี้ยง (ไก่ หมู โค กระบือ)
           10. การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช
           11. ขาดเงินทุน และ/หรือ เงินหมุนเวียนในดำเนินการ
           12. ขาดพื้นที่เลี้ยงสัตว์ (โค กระบือที่เหมาะสม
           13. ปัจจัยการผลิตมีต้นทุนสูง และหายาก
           14. รายได้ / ครัวเรือนต่ำ
           15. ภาวะหนี้สินของครัวเรือน
           16. แรงงานการเกษตรขาด หายาก ค่าจ้างสูง
           17. ว่างงานหลังฤดูทำนา และภาวะไม่มีงานทำ

       ความต้องการของเกษตรกร
            1.  มีหนี้สินน้อยลง
            2.    มีรายได้ / ครัวเรือน เพิ่มขึ้น
            3. พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปัจจัยการเกษตร หาง่าย ราคาไม่แพง
            4. ผลผลิต / ไร่ เพิ่มขึ้น
            5. มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรเพียงพอ (บางพื้นที่) 
            6. มีเงินทุนในการลงทุนการผลิตและการดำเนินการ  
            7. มีอาชีพการเกษตรที่ยั่งยืน
            8. มีสุขภาพดี มีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตดีขึ้น
            9. มีอาชีพการเกษตรที่ยั่งยืน
      อาชีพทางเลือกสำหรับเกษตรกรจังหวัดชัยภูมิ
                ด้วยศักยภาพของพื้นที่ซึ่งมีพื้นที่ลุ่มอยู่ประมาณร้อยละ 45  มีแหล่งน้ำที่ดีจากแม่น้ำชี และด้วยทุนของความรู้เดิมในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประกอบกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดชัยภูมิในการพัฒนาอาชีพการเกษตร ด้วยการกำหนดภาระกิจมุ่งในการส่งเสริมและสร้างขีดความสามารถของเกษตรกร ให้เกิดความเข้มแข็งสามารถผลิตผลผลิตที่มีคุณภาพดี จึงเป็นปัจจัยที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพและการส่งเสริมทางเลือกของอาชีพแก่ประชากรของจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพการเกษตร
อาชีพทางเลือกและทางเลือกของอาชีพด้านเกษตรกรรมสำหรับคนชัยภูมิ มีแนวทางในการพัฒนาได้หลายแนวทาง ซึ่งในที่นี้จะขอเสนอไว้ในเบื้องต้น 4 แนวทาง คือ    
1.       เลือกวิธีการในการผลิต
1)     เกษตรทฤษฎีใหม่
2)     เกษตรอินทรีย์
3)     เกษตรแบบผสมผสาน
4)     เกษตรเชิงพาณิชย์
5)     เกษตรแบบมีพันธะตกลง
      2.       เลือกอาชีพใหม่ / เปลี่ยนชนิดของพืชหรือสัตว์
1)       พืชผัก (ผักในโรงเรือน) หรือ ไม้ผลอายุสั้น (เช่น มะละกอ กล้วยไข่)
2)       ไม้ผลที่ไม่ต้องการการดูแล (เช่น มะม่วงแก้ว มะขามเปรี้ยว)
3)       สัตว์น้ำ (การเลี้ยงปลาน้ำจืด ปลาสวยงาม)
4)       ไก่พื้นเมือง / โคพันธุ์พื้นเมือง / แพะ
      3.       ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มรายได้ด้วยอาชีพเสริม
1)       พืชทุกชนิดที่กินได้ (พืชรายวัน พืชรายสัปดาห์ และพืชรายเดือน)
2)       พืชเสริมในพืชหลัก หรือ พืชเสริมตามหลังพืชหลัก
3)       การแปรรูปสินค้าเกษตร และ งานหัตถกรรม 
     4.       การรวมกลุ่มเพื่อการผลิตให้ได้คุณภาพและมีปริมาณมากพอต่อการจัดการด้านการตลาด
       1)      กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพริก
       2)      กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ
       3)      กลุ่มเกษตรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
       4)      กลุ่มอาชีพอื่น ๆ

ารพัฒนาอาชีพและทางเลือกของอาชีพให้แก่เกษตรกร จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมเพื่อให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยข้อมูล ความรู้ และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องหลายด้าน เช่นฐานข้อมูลด้านชุมชนและสังคม  ข้อมูลของพื้นที่และลักษณะภูมิประเทศ  ภูมิอากาศและข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยาการเกษตร ข้อมูลด้านการตลาดของสินค้าหรือผลผลิต  ความรู้ /องค์ความรู้ในการผลิตสินค้าหรือผลผลิตและการจัดการหากแต่ความสำเร็จในการพัฒนาอาชีพและทางเลือกที่นอกเหนือจากข้อมูลและความรู้แล้วยังคงมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่สำคัญที่สุดคือความพร้อมและความมุ่งมั่นของคน  (เกษตรกรและบุคลากร)ในพื้นที่

แสดงการแบ่งเขตการปกครองในจังหวัดชัยภูมิโดยจำแนกตามอำเภอ

รายชื่ออำเภอ/กิ่งอำเภอ
เนื้อที่ (ตร.กม.)
จำนวนตำบล
จำนวนหมู่บ้าน
จำนวนเทศบาล
เมือง
1,169.898
18
209
3
คอนสวรรค์
468.147
9
100
1
แก้งคร้อ
582196
10
125
2
บ้านแท่น
308.707
5
66
1
ภูเขียว
801.757
11
142
2
เกษตรสมบูรณ์
1,418.967
12
138
2
คอนสาร
966.665
8
78
1
หนองบัวแดง
2,215.459
8
125
1
บ้านเขว้า
544.315
6
82
1
จัตุรัส
647.031
9
112
2
บำเหน็จณรงค์
560.300
7
87
2
เทพสถิต
875.604
5
84
1
หนองบัวระเหว
841.782
5
58
1
ภัคดีชุมพล
900.456
4
47
-
เนินสง่า
222.003
4
45
-
ซับใหญ่ (กิ่งอำเภอ)
225.000
3
35
-
รวม
12,778.287
124
1,533
20

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จังหวัดชัยภูมิ

ชัยภูมิ  เดิมสะกดว่า  ไชยภูมิ์  เป็น จังหวัด ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่างของ ประเทศไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังไม่มีการจัดตั้งจังหว...